“หัวป่า” เมนูอาหารพื้นถิ่นสู่เมืองหลวง
ออกแบบเมนูอาหารเฉพาะถิ่น หรือหาทานได้ยาก ให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์พร้อมทาน โดยใช้วัตถุดิบที่ชุมชนมี มาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นการอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่นให้สามารถส่งต่อถึงคนรุ่นใหม่ได้ โดยที่ไม่ถูกลืมเลือน และช่วยเหลือให้คนในชุมชนได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
แพลตฟอร์มช่างเย็บ
การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยนั้นทำให้ทุกสิ่งเปลี่ยนไป ทำให้ต้องปรับตัว ก่อเกิดแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมอาชีพช่างเย็บผ้า สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และรักษาวัฒนธรรม และศิลปกรรมของสิ่งทอที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งถือเป็นรากเหง้าที่ถูกสืบต่อกันมา คงอยู่เพื่อเป็นมรดกทางภูมิปัญญาให้กับคนรุ่นใหม่
ขยะอินทรีย์สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กชาติพันธุ์
ขยะอินทรีย์ สำหรับครัวเรือนอาจเป็นแค่เศษอาหารที่ทิ้งลงถังขยะส่งกลิ่นเน่าเหม็น แต่ในศูนย์การเรียนรู้เยาวชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้ต่อยอดและสร้างมูลค่าที่สามารถนำไปผลิตอาหารเลี้ยงปากท้องให้กับเด็กชาวอาข่ากว่า 50 ชีวิต
ธนาคารปลาซิวแก้ว
เมื่อความต้องการในการบริโภคปลาซิวเพิ่มมากขึ้น แต่ธรรมชาติก็ไม่สามารถขยายพันธุ์ปลาให้เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคของมนุษย์ได้ จึงก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมธนาคารปลาซิวแก้วขึ้น
ผ้าเขียนเทียนสีธรรมชาติอัตลักษณ์วิถีเผ่าม้ง
การนำนวัตกรรมเข้าไปผสมผสาน กับศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้า “ผ้าเขียนเทียน” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มม้งลาย เป็นภูมิปัญญาและศิลปะโบราณดั้งเดิมที่เป็นมรดกตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ สร้างเป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่ชื่อ “Tribal Heart Studio”
ปิ่นโตร้อยสาย
เมนูชาวบ้าน สู่ catering ให้บริการอาหารคุณภาพจากวัตถุดิบในชุมชนมาแปรรูปเป็นอาหารจากครัวเรือน ในรูปแบบของ “ปิ่นโตร้อยสาย” ที่มีมีเมนูที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละปิ่นโตจากแต่ละบ้าน