NIA ร่วมกับเครือข่ายจัดกิจกรรมการออกแบบเมืองประสานความร่วมมือ สรรค์สร้างชุมชนเมืองเพื่อความยั่งยืนและสุขภาวะ

สนช. โดยฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม ร่วมกับบริษัท อินี่ เครือข่ายนวัตกรรมสากล จำกัด สถาบันเอเชียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบเมืองประสานความร่วมมือ สรรค์สร้างชุมชนเมืองเพื่อความยั่งยืนและสุขภาวะ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 11-12 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นำวิธีการออกแบบของนักออกแบบร่วมกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆที่เกี่ยวข้างกับการแก้ไขปัญหาสังคมมาปรับใช้กับพื้นที่ชุมชนและสังคม โดยร่วมกันออกแบบและวางแผนเพื่อหากระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1. พื้นฐานของปัญหา 2. กระบวนการหรือวิธีการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา 3. การสร้างต้นแบบเพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสังคมให้ดีขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก Prof.Dr.Ezio Manzini มาเป็นผู้บรรยายพิเศษในหัวข้อการการออกแบบเพื่อฟื้นฟูเมือง: สรรค์สร้างชุมชนเพื่อเปลี่ยนวิกฤต และเป็นผู้ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติเรื่อง การออกแบบเมืองประสานความร่วมมือให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบเมืองประสานความร่วมมือ เพื่อร่วมกันหากระบวนการและจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลทางสังคม โดยมีกรณีศึกษา 4 กรณี ได้แก่

  1. โครงการสวนผักคนเมือง:พลังเล็กสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ และการทำพื้นที่เกษตรในเมือง
  2. โครงการชุมชนคลองบางหลวง:พื้นที่เชื่อมวิถีชีวิตเมืองกับวิถีริมคลอง กรุงเทพมหานคร ออกแบบจากการคมนาคมและการสัญจรทางเรือให้สะดวกและปลอดภัย เพื่อง่ายในการเข้าถึงชุมชน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อนักท่องเที่ยว พัฒนาชุมชนริมคลองให้น่าอยู่ ดึงอัตลักษณ์ของคนในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตของชุมชน เพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่คนภายนอก เช่น เกมเมืองกินดี-อยู่ดี ระดับชุมชน มักจะคำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถวางแผนได้ด้วยตนเอง ให้สามารถจัดการตนเองอย่างเป็นระบบมากขึ้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมเมือง (Bottom Up) ได้แก่ ชุมชนบ้านมั่นคง ชุมชนรายได้น้อยในจังหวัดอุดรธานี การยกระดับเมืองยานนาวา สามารถนำนโยบายที่ระดมออกมาไปเสนอต่อภาครัฐได้
  3. โครงการกระบวนการออกแบบระบบอาหารภาคใต้ เริ่มจากการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องของการทำสุขภาวะและการโภชนาการ การสร้งสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับชุมชน การทำงานร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ การเก็บข้อมูลจากชุมชนโดยเน้นวิถีชีวิตและภูมิปัญญา
  4. พัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ สร้างกิจกรรมเพื่อสร้างความมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ และรูปแบบการบริการเพื่อสร้างความสะดวกสบายของผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงบริการที่ง่ายขึ้นและไม่ทำให้รู้สึกถึงการเป็นภาระของคนอื่นๆในสังคม